วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

นวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์มีส่วนร่วม

วีดีทัศน์การ์ตูนประกอบเสียงดนตรี สำหรับส่งเสริมการเล่นดนตรี
วัตถุประสงค์
  1.เพื่อดึงดูดความสนใจในการเล่นดนตรี
  2.เพื่อสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน
  3.เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์จินตนาการให้มากขึ้น
  4.เพื่อเป็นสื่อในการฝึกทักษะในการฟัง
  5.เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการฟังรู้จักการมีส่วนร่วมในกิจกรรม และส่งผลให้เกิดความพร้อมในการเรียน
  6.เพื่อให้นักเรียนได้สื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ลักษณะ
   วีดีทัศน์การ์ตูนประกอบเสียงดนตรีนี้จะเป็นแบบ  มีเนื้อหาน้อย สั้น กะทัดรัด เข้าใจง่าย  มีการบรรยายโดยใช้ภาพวีดีทัศน์  มีเสียงดนตรี เช่น  เรียนเรื่อง สัตว์ ก็จะมีเสียงสัตว์ต่างๆในวีดีทัศน์การ์ตูน  เป็นต้น
โดยใช้คอมพิวเตอร์เปิด และมีการใช้โปรเจคเตอร์ขยายภาพ

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

สรุปประวัติคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2497-2501)   
               คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสูญญากาศ (Vacuum tube) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องยังมีขนาดใหญ่มาก ใช้กระแสไฟฟ้าจำนวนมาก ทำให้เครื่องมีความร้อนสูงจึงมักเกิดข้อผิดพลาดง่าย คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ได้แก่ UNIVAC I , IBM 600
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 (พ.ศ. 2502-2507)
               คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้ทรานซิสเตอร์ (Transistor) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และใช้วงแหวนแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำ  คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กกว่ายุคแรก ต้นทุนต่ำกว่า ใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่า และมีความแม่นยำ
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 (พ.ศ. 2508-2513)    
               คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้วงจรไอซี (Integrated Circuit)  เป็นสารกึ่งตัวนำที่สามารถบรรจุวงจรทางตรรกะไว้แล้วพิมพ์บนแผ่นซิลิกอน (Silicon) เรียกว่า "ชิป"
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 (พ.ศ. 2514-2523)    
                คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้วงจร LSI (Large-Scale Integrated Ciruit) เป็นการรวมวงจรไอซีจำนวนมากลงในแผ่นซิลิกอนชิป 1 แผ่น สามารถบรรจุได้มากกว่า 1 ล้านวงจร ด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้ทำให้เกิดแนวคิดในการบรรจุวงจรที่สำคัญสำหรับการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์นั่นคือ CPU ลงชิปตัวเดียว เรียกว่า "ไมโครโปรเชสเซอร์"
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 (พ.ศ. 2524-ปัจจุบัน)  
                 คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้วงจร VLSI (Very Large-Scale Integrated Ciruit) เป็นการพัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เครดิตhttp://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsawan/adun_t/lession0102.htm
เครดิตhttp://www.sorncomputer.com/

ประวัติคอมพิวเตอร์ยุคที่ 5

ยุคที่ 5 คอมพิวเตอร์ยุคเครือข่าย (ค.ศ.1990-ปัจจุบัน)

         เมื่อไมโครคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถสูงขึ้น ทำงานได้เร็ว การแสดงผล การจัดการข้อมูล สามารถประมวลได้ครั้งละมาๆ จึงทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายงานพร้อมกัน (multitasking) ขณะเดียวกันก็มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์การ โดยใช้เครือข่ายท้องถิ่นที่เรียกว่า Local Area Network : LAN เมื่อเชื่อมหลายๆกลุ่มขององค์การเข้าด้วยกันเกิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การ เรียกว่า อินทราเน็ต (intranet) และหากนำเครือข่ายขององค์การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายสากลที่ต่อเชื่อมกันทั่วโลก เรียกว่า อินเตอร์เน็ต (internet)
         คอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันจึงเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกัน ทำงานร่วมกัน ส่งเอกสารข้อความระหว่างกัน สามารถประมวลผลรูปภาพ เสียง และวิดีทัศน์ ไมโครคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จึงทำงานกับสื่อหลายชนิดที่เรียกว่าสื่อประสม (Multimedia)

         คอมพิวเตอร์ในยุคที่ 5 นี้เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่างๆเข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI)
         ประเทศต่างๆทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรป กำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง

ประวัติคอมพิวเตอร์ยุคที่4

ยุคที่ 4 คอมพิวเตอร์ยุค วีแอลเอสไอ (ค.ศ.1970-1989)

     เทคโนโลยีทางด้านการผลิตวงจรอิเล็กทรอนิคส์ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างวงจรรวมที่มีขนาดใหญ่มารวมใน แผ่นซิลิกอน เรียกว่า วีแอลเอสไอ (Very Large Scale Intergrated circuit : VLSI) เป็นวงจรรวมที่รวมเอา
ทรานซิสเตอร์จำนวนล้านตัวมารวมอยู่ในแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก และผลิตเป็นหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์
ที่ซับซ้อน เรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) การใช้ VLSI เป็นวงจรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
ทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์สูงขึ้น เรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องที่แพร่หลายและ
มีผู้ใช้งานกันทั่วโลก การที่คอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถสูง เพราะ VLSI เพียงชิพเดียวสามารถสร้างเป็นหน่วย
ประมวลผลของเครื่องทั้งระบบหรือเป็นหน่วยความจำที่มีความจุสูงหรือเป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานต่างๆ
ขณะเดียวกันพัฒนาของฮาร์ดดิสก์ก็มีขนาดเล็กลงแต่ราคาถูกลง เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จึงมีขนาดเล็กลง
ปาล์มทอป (palm top) โน็ตบุ๊ค (Notebook)

ประวัติคอมมพิวเตอร์ยุคที่3

ยุคที่ 3 คอมพิวเตอร์ ยุควงจรรวม (ค.ศ.1965-1969)

         ประมาณปี ค.ศ. 1965 ได้มีการพัฒนาสร้างทรานซิสเตอร์จำนวนมากลงบนแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก  และเกิดวงจรรวมบนแผ่นซิลิกอนที่เรียกว่า ไอซี การ ใช้ไอซีเป็นส่วนประกอบทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง ราคาถูกลง  จึงมีบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กลง เรียกว่า "มินิคอมพิวเตอร์" (Mini Computer)
         ดังนั้นคอมพิวเตอรใน์ยุคที่สาม เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC)  โดยวงจร รวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมาย ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ  ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลา การทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง

ประวัติคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2

ยุคที่ 2 ประวัติคอมพิวเตอร์ ตอนที่ 3 คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์ (ค.ศ.1957-1964)

         ใช้ทรานซิสเตอร์ (Transistor) เป็นวงจรสำคัญ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำสามคนจากห้องปฏิบัติการ เบลล์ (Bell Lab.) ได้แก่ วิลเลียม ชอคลีย์ (W. Shock), จอห์น บาร์ดีน (J. Bardeen), วอลเตอร์ แบรทเตน (H. W. Brattain) โดย ทรานซิสเตอร์เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดเล็กกว่าหลอดสูญญากาศมาก แต่มีความจำที่สูงกว่า ไม่ต้องเวลาในการวอร์มอัพ ใช้พลังงานต่ำ ทำงานด้วยความเร็วที่สูงกว่า นอกจากเทคโนโลยีเรื่องวงจร ยังมีเทคโนโลยีอื่นมาร่วมด้วย เช่น เกิดภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้นมา คือ ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) และภาษาระดับสูงต่างๆ เช่น ภาษา FORTRAN , COBOL  สำหรับหน่วยบันทึกข้อมูลก็มีการนำเทปแม่เหล็กมาใช้งาน (สำหรับรูปทั้งสามท่าน ไม่สามารถหานำมาประกอบเอกสารได้ เพราะเกรงจะโดนลิขสิทธิ์จากเจ้าของเว๊บ เขาใส่ชื่อลงในรูปไว้ จึงไม่ได้นำมา)

         นักวิทยาศาสตร์ของห้องปฏิบัติการเบลแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์สำเร็จ ซึ่งมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการสร้างคอมพิวเตอร์ เพราะทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กใช้กระแสไฟฟ้าน้อย มีความคงทนและเชื่อถือได้สูง และราคาถูก คอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ จะมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียน โปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คน สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีการผลิตคอมพิวเตอร์เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
สำหรับประเทศไทย มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในยุคนี้ ค.ศ. 1964 โดยจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยนำเข้ามาใช้ในการศึกษา ในระยะเวลาเดียวกันสำนักงานสถิติแห่งชาติก็นำมาเพื่อใช้ในการคำนวณสำมะโนประชากร นับเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ในประเทศไทย

ประวัติคอมพิวเตอร์ยุค 1

เริ่มต้นคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 คอมพิวเตอร์ยุค หลอดสูญญากาศ (ค.ศ. 1945-1958)

คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ มักจะใช้กับงานธุรกิจ เช่น งานเงินเดือน บัญชี หรือควบคุมสินค้าคงคลัง

ลักษณะเฉพาะของคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
         ใช้หลอดสูญญากาศ เป็นส่วนประกอบหลัก
         ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้กำลังไฟฟ้าสูง เกิดความร้อนสูง
         ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language)
         มีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ เช่น Symbolic Language และ Assembly

        พ.ศ.2480-2481  ดร.จอห์น วินเซนต์ อตานาซอฟ (Dr.Jobn Vincent Atansoff) และ คลิฟฟอร์ด แบรี่ (Clifford Berry) ได้ประดิษฐ์เครื่อง ABC ( Atanasoff-Berry) ขึ้น โดยได้นำหลอดสุญญากาศมาใช้งาน ABC ถือเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกที่เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

        ในปี ค.ศ. 1943 วิศวกรสองคน คือ จอห์น มอชลี (John Mouchly) และ เจ เพรสเปอร์ เอ็ดเคิร์ท (J.Presper Eckert) ได้พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์  และจัดได้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่วไปเครื่องแรกของโลก ชื่อว่า อินิแอค (Electronic  Numerical Intergrator And Calculator : ENIAC) อีนีแอค

        ในปี ค.ศ. 1945 จอห์น วอน นอยแมน (John Von Neumann)  ได้ เสนอแนวคิดในการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำ  เพื่อใช้เก็บข้อมูลและโปรแกรมการทำงานหรือชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์  คอมพิวเตอร์จะทำงานโดยเรียกชุดคำสั่งที่เก็บไว้ในหน่วยความจำมาทำงาน หลักการนี้เป็นหลักการที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน


ประวัติคอมพิวเตอร์

แผนการสอน


แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4


ผู้จัดทำ
นาย ณัฐชาต   คำประเสริฐ
ครูผู้ฝึกสอน โรงเรียนบ้านโจ้โก้
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา  เขต2


แผนการจัดการเรียนรู้ที่1
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี)  หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 กิจกรรมดนตรี (1)     ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
เรื่อง  ดนตรีน่ารู้                                                                                                         เวลาเรียน 3 ชั่วโมง
..........................................................................................................................................................
1.  สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด
                ประโยคเพลง  ทำนอง  และจังหวะ  เป็นองค์ประกอบดนตรีที่ทำให้เพลงเกิดความไพเราะน่าฟัง
2.  ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้
                2.1 ตัวชี้วัด      ศ 2.1           ป.4/1     บอกประโยคเพลงอย่างง่าย
                                   ป.4/3     ระบุทิศทางการเคลื่อนที่ขึ้น-ลงง่ายๆ  ของทำนอง  รูปแบบจังหวะและ                                                                        ความเร็วของจังหวะในเพลงที่ฟัง    
2.2 จุดประสงค์การเรียนรู้
        1)  บอกประโยคเพลงอย่างง่ายได้
                        2)  ระบุทิศทางการเคลื่อนที่ขึ้น-ลงง่ายๆ ของทำนอง  รูปแบบจังหวะ  และความเร็วของ
                           จังหวะในเพลงที่ฟังได้
                       3)  ร้องเพลงได้ถูกต้องตามจังหวะและทำนอง
3.  สาระการเรียนรู้
                3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง
        1)  โครงสร้างของบทเพลง
                        2)  รูปแบบจังหวะ
        3)  รูปแบบทำนอง
3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น -           
4.  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
              4.1  ความสามารถในการสื่อสาร
                4.2  ความสามารถในการคิด
                        -  ทักษะการคิดวิเคราะห์
4.3  ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
                        -  กระบวนการปฏิบัติ
                        -  กระบวนการทำงานกลุ่ม                      
5.  คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1.  มีวินัย
                2.  ใฝ่เรียนรู้
6.  กิจกรรมการเรียนรู้  (วิธีสอนแบบบรรยาย และวิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการปฏิบัติ)
  นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
ชั่วโมงเรียนที่ 1
1.             ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ
2.             ครูให้ตัวแทนนักเรียนร้องเพลง แมวมาลี แล้วให้นักเรียนทุกคนอ่านเนื้อเพลง แมวมาลีพร้อมกัน 
ในหนังสือเรียน  แล้วลองนับจำนวนเนื้อเพลงเป็นช่วงๆ ตามวลีว่ามีกี่วลี
3.             ครูให้นักเรียนฝึกร้องเพลง แมวมาลีและฝึก.เคลื่อนไหวตามจังหวะเพลงพร้อมๆ กัน แล้วซักถามนักเรียนเกี่ยวกับจังหวะเพลง แมวมาลี  ว่ามีจังหวะช้าหรือเร็ว  และในเนื้อเพลงได้กล่าวถึงอะไรบ้าง  ให้นักเรียนช่วยกันตอบ
4.             ครูสนทนากับนักเรียนว่า  การที่เราจะฟังเพลง  หรือขับร้องเพลงให้เกิดประโยชน์และรับรู้ถึงความไพเราะของเพลงนั้น  ควรมีหลักการฟังและการขับร้องที่ดี  รวมถึงเข้าใจองค์ประกอบทางดนตรีด้วย  ได้แก่
-          โครงสร้างของบทเพลง
-          รูปแบบจังหวะ
-          รูปแบบทำนอง
5.             ครูติดแผนภูมิเพลง ช้าง บนกระดาน  แล้วอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างของบทเพลงให้นักเรียนฟัง  ว่า  เพลงช้าง  มีประโยคเพลง 6 ประโยคเพลง  ถ้าจะฝึกขับร้อง  ควรฝึกหายใจให้สอดคล้องกับประโยคเพลง  โดยหายใจเมื่อร้องจบประโยคเพลงแล้ว  ตามปกติแล้วเพลงทั่วไปมักจะมีประโยคเพลงไม่เท่ากัน  และนิยมมีจำนวนประโยคเพลงเป็นแบบจำนวนคู่
6.             ครูให้นักเรียนฝึกร้องเพลง ช้าง  พร้อมกับปรบมือตามจังหวะเพลง  จากนั้นครูให้นักเรียนอาสาสมัคร 4-5 คน  ออกมาทำท่าประกอบเพลงให้เพื่อนดู  โดยให้เพื่อนๆ ช่วยกันร้องเพลง แล้วให้นักเรียนทุกคนร้องเพลง ช้าง  และทำท่าประกอบเพลงพร้อมกันอีก 1 รอบ
7.             ครูซักถามเกี่ยวกับประโยคเพลงของเพลง ช้าง ว่าประโยคเพลงแรก  คืออะไร  และประโยค เพลงสุดท้าย  คืออะไร  ให้นักเรียนช่วยกันตอบ
8.             ครูซักถามนักเรียนว่า  หากเราร้องเพลงโดยไม่คำนึงถึงวรรคตอนของเพลง  เพลงจะไพเราะหรือไม่  เพราะเหตุใด
9.             ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม  กลุ่มละ 4-5 คน  แล้วให้แต่ละกลุ่มทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง เพลงจับปูดำ โดยให้ฝึกร้องเพลงตามที่กำหนด  แล้วตอบคำถาม จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน
7.  การวัดและประเมินผล

วิธีการ
เครื่องมือ
เกณฑ์
นักเรียนทำใบงานที่ 1.1
ใบงานที่ 1.1
ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์


8.  สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
                8.1 สื่อการเรียนรู้
1.             หนังสือเรียน ดนตรี-นาฏศิลป์ ป.4
2.             แผนภูมิเพลงช้าง
3.             เพลงที่กำลังเป็นที่นิยม
4.             ใบงานที่ 1.1  เรื่อง  เพลงจับปูดำ
      8.2 แหล่งการเรียนรู้
    -   ห้องสมุด

แผนภูมิ เพลงช้าง
                                                     เพลงช้าง                              

เนื้อร้อง  คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง                                                   ทำนอง  เพลงพม่าเขว
ช้าง  ช้าง  ช้าง                                                                   ประโยคที่ 1
หนูเคยเห็นช้างหรือเปล่า                                                   ประโยคที่ 2
ช้างมันตัวโตไม่เบา                                                           ประโยคที่ 3
จมูกยาวๆ เรียกว่า งวง                                                       ประโยคที่ 4
มิเขี้ยวใต้งวงเรียกว่า งา                                                     ประโยคที่ 5
มีหูมีตาหางยาว                                                                 ประโยคที่ 6


ใบงานที่ 1 จับปูดำ
เรื่อง  เพลงจับปูดำ
คำชี้แจง      ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มฝึกร้องเพลงที่กำหนดให้ จากนั้นให้ออกมาร้องหน้าชั้นเรียน                       
                   และตอบคำถาม
เพลงจับปูดำ
เนื้อร้อง  สุกรี ไกรเลิศ                                                                                     ทำนอง  สุกรี ไกรเลิศ
      ปูดำ เป็นชื่อของปูทะเลชนิดหนึ่ง มีกระดองสีเขียวหม่น
และสีดำปนแดงหรือสีน้ำตาลแก่
                         จะจับปูดำ                                     ขยำปูนา
                  จะจับปูม้า                                           เลยไปคว้าปูทะเล
                  สนุกจริงเอย                                        แล้วเลยนอนเปล
                  ชะโอละเห่                                          นอนในเปลหลับไป       
ปูม้า เป็นชื่อของปูทะเลชนิดหนึ่ง
ตัวผู้มีสีออกน้ำเงิน  ตัวเมียมีสีออกน้ำตาล
       1. ชื่อกลุ่มของนักเรียน คือ ..............................................................................................
     2. สมาชิกประกอบด้วย
    1) .................................................................................................................................
    2) .................................................................................................................................
    3) .................................................................................................................................
3. เพลงที่ร้องเป็นเพลงที่มีจังหวะ            ¦  จังหวะช้า                   ¦  จังหวะเร็ว
4. เพลงจับปูดำ มีประโยคเพลงทั้งหมด ..................................... ประโยคเพลง
   ประโยคเพลงแรก คือ ...................................................................................................
   ประโยคเพลงสุดท้าย คือ ..............................................................................................
5. นักเรียนชอบร้องเพลงนี้หรือไม่          ¦  ชอบ                  ¦  ไม่ชอบ
    เพราะ ………………………………………………………………………………..
    ……………………………………………………………………………………….
                                                           












เฉลย
ใบงานที่1
เพลงจับปูดำ
เนื้อร้อง  สุกรี ไกรเลิศ                                                                                     ทำนอง  สุกรี ไกรเลิศ
      ปูดำ เป็นชื่อของปูทะเลชนิดหนึ่ง มีกระดองสีเขียวหม่น
และสีดำปนแดงหรือสีน้ำตาลแก่
                         จะจับปูดำ                                     ขยำปูนา
                  จะจับปูม้า                                           เลยไปคว้าปูทะเล
                  สนุกจริงเอย                                        แล้วเลยนอนเปล
                  ชะโอละเห่                                          นอนในเปลหลับไป       
ปูม้า เป็นชื่อของปูทะเลชนิดหนึ่ง
ตัวผู้มีสีออกน้ำเงิน  ตัวเมียมีสีออกน้ำตาล
3. เพลงที่ร้องเป็นเพลงที่มีจังหวะ            ¦  จังหวะช้า                   ¦  จังหวะเร็ว
4. เพลงจับปูดำ มีประโยคเพลงทั้งหมด ..................................... ประโยคเพลง
   ประโยคเพลงแรก คือ ...................................................................................................
   ประโยคเพลงสุดท้าย คือ ..............................................................................................
5. นักเรียนชอบร้องเพลงนี้หรือไม่          ¦  ชอบ                  ¦  ไม่ชอบ
    เพราะ ………………………………………………………………………………..
    ……………………………………………………………………………………….
                                                           
แบบสังเกต
พฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
              คำชี้แจง    :           ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย ü ในช่องที่ตรงกับความเป็นจริง
พฤติกรรมที่สังเกต
คะแนน
3
2
1
1. มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น



2. มีความกระตือรือร้นในการทำงาน



3. รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย



4. มีขั้นตอนในการทำงานอย่างเป็นระบบ



5. ใช้เวลาในการทำงานอย่างเหมาะสม



รวม

                                                         เกณฑ์การให้คะแนน
                                       พฤติกรรมที่ทำเป็นประจำ       ให้ 3       คะแนน
                                       พฤติกรรมที่ทำเป็นบางครั้ง     ให้ 2       คะแนน
                                       พฤติกรรมที่ทำน้อยครั้ง          ให้ 1       คะแนน
เกณฑ์การให้คะแนน

ช่วงคะแนน
ระดับคุณภาพ
13-15
ดี
8-12
พอใช้
5-7
ปรับปรุง


บันทึกผลหลังการสอน
ผลการจัดกิจกรรม
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
ปัญหาที่เกิดขึ้น
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
แนวทางปรับปรุงแก้ไข
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
ข้อเสนอแนะของผู้บริหาร
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
        ( ลงชื่อ)                                                                                                ( ลงชื่อ)
                นายฐาปกรณ์  อ่อนคำ                                                                           นาย ณัฐชาต   คำประเสริฐ
         ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโจ้โก้                                                                     ครูฝึกสอน